• Home
  • /
  • Articles posted by:
  • Warren Black
Home Study

การศึกษาทางไกล อีกหนึ่งช่องทางการศึกษาสำหรับประชาชน

“การศึกษาทางไกล” เป็นอีกหนึ่งทางเลือกด้านการศึกษาสำหรับประชาชนที่ต้องการวุฒิปริญญาตรีหรือมากกว่า แต่อาจจะประสบปัญหาบางอย่างที่ทำให้ไม่สามารถเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยปกติได้ เพราะไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็สามารถเรียนได้ ผู้ที่เลือกเรียนด้วยระบบการศึกษาทางไกลนี้ ถือว่าเป็นผู้ที่มีจิตใจใฝ่เรียนรู้และมีความพากเพียรอยู่ในตัว ทว่า หลายๆ คนก็อาจจะมีความกังวลว่าตนเองจะไปไม่รอดกับการศึกษาในรูปแบบนี้ เนื่องจากจะต้องคอยกระตุ้นตัวเองเพื่อให้ขยันหาความรู้อยู่เสมอๆ เพราะแทบจะไม่ได้พบหน้าอาจารย์ผู้สอนโดยตรงเลย ดังนั้นหลายๆ คนจึงเกิดคำถามว่าควรทำอย่างไรดีเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตรงจุดนี้ บทความในวันนี้จึงขอนำพาผู้อ่านไปทำความเข้าใจแนวทางในการเตรียมตัวเพื่อให้ประสบความสำเร็จในการศึกษาทางไกล การศึกษาทางไกลนั้น เน้นการอ่านหนังสือและหาความรู้ด้วยตัวเอง สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือจิตใจที่มุ่งมั่นและขยัน พร้อมแสวงหาความรู้ด้วยตนเองอยู่เสมอ การแบ่งเวลาในการอ่านหนังสือจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ โดยส่วนมาก หนังสือที่ถูกจัดเตรียมเอาไว้เพื่อการเรียนการสอนทางไกลนั้น มักจะมีเนื้อหาที่ครอบคลุมและเข้าใจง่ายอยู่แล้ว รวมไปถึงการบอกใบ้แนวทางในการเรียนเพื่อให้สามารถทำข้อสอบได้อีกด้วย ซึ่งถ้าหากผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในบทเรียนตรงตามประเด็นของวัตถุประสงค์ที่ระบุในหนังสืออยู่แล้ว ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องมีความกังวลใดๆ ต่อการสอบทที่จะมาถึงในอนาคต ประเด็นต่อมาคือเรื่องของคะแนนช่วย ในการเรียนการสอนทางไกลนั้นจะมีการทำกิจกรรมประจำชุดวิชา เพื่อเป็นอีกทางหนึ่งให้ผู้เรียนได้มีคะแนนเก็บเอาไว้เป็นคะแนนช่วยให้สามารถผ่านเกณฑ์ของที่ทางมหาวิทยาลัยกำหนดได้ง่ายขึ้น ซึ่งหากสามารถทำและส่งได้ทันตามเวลาที่มหาลัยกำหนดก็ไม่จำเป็นจะต้องห่วงอะไรในส่วนนี้ ประเด็นสุดท้ายคือ การไปเข้าชั้นเรียนตามตารางเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนด ซึ่งอาจจะมีไม่บ่อยนักแล้วแต่ทางมหาวิทยาลัยจะกำหนด วัตถุประสงค์คือช่วยทบทวนบทเรียนให้แกผู้เรียนและช่วยให้คำตอบที่ผู้เรียนอาจจะสงสัยเกี่ยวกับตัวเนื้อหา ซึ่งผู้เรียนสามารถเลือกได้ว่าจะไปหรือไม่ไป แต่ขอแนะนำให้ไปเรียนจะดีกว่าเพื่อประโยชน์ส่วนตัวของผู้เรียนเอง ทิ้งท้ายฝากเอาไว้อีกครั้งสำหรับผู้ที่เรียนระบบการเรียนการสอนทางไกล ผู้เรียนควรหมั่นติดตามข่าวสารจากทางมหาลัยอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้พลาดข่าวสารสำคัญไปและควรจะเตรียมตัวเองให้ดีก่อนจะถึงเวลาสอบ และโปรดจงจำเอาไว้ให้ดีว่าถึงแม้จะเป็นการเรียนด้วยระบบเช่นนี้แล้ว แต่การเรียนรู้ยังไงก็ไม่เสียหาย การไม่รู้จักเรียนรู้อะไรต่างหากที่แย่ ดังนั้นจงภูมิใจในตนเองที่ได้ยกระดับคุณภาพชีวิตตนเองด้วยการศึกษาแล้ว

Portfolio

พอร์ตโฟลิโอ ทำไปเพื่ออะไร ทำแล้วได้อะไร

ช่วงนี้ก็เป็นช่วงที่น้องๆ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลายๆ คน กำลังทำตามความฝันเพื่อให้ได้เข้าไปอยู่ในคณะที่ใช่ของมหาวิทยาลัยที่ชอบ ดังนั้น นอกจากการเรียนที่โรงเรียนแบบปกติแล้ว ก็ยังจะต้องหาเวลาอ่านหนังสือเตรียมสอบหรือเตรียมตัวทำพอร์ตโฟลิโอเพื่อใช้ในการยื่นกับมหาลัยอีกด้วย น้องๆ หลายคนอาจจะอยากรู้ว่าทำพอร์ตฯทำไม ทำแล้วได้อะไร หรือถ้าเกิดไม่เคยมีผลงานเลยในช่วงที่ผ่านมาไม่ทำพอร์ตได้ไหม? ดังนั้น วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับพอร์ตโฟลิโอไปพร้อมๆ กัน! พอร์ตโฟลิโอคืออะไร? พอร์ตโฟลิโอ (Portfolio) หรือแฟ้มสะสมผลงานนั้น เป็นหลักฐานที่แสดงถึงความสำเร็จทางด้านต่างๆ ตลอดเวลาที่เรายังเป็นนักเรียนอยู่ ไม่ว่าจะเป็นผลการเรียน การทำกิจกรรม หรือผลงานด้านความถนัดต่างๆ รวมถึงประวัติส่วนตัวที่จำเป็น ก็จะถูกใส่เอาไว้ด้วยเช่นกัน พอร์ตโฟลิโอสำคัญต่อการเข้ามหาวิทยาลัยอย่างไร?             ในการสอบสัมภาษณ์ พอร์ตโฟลิโอเป็นเครื่องมือที่ช่วยยืนยันและเป็นหลักฐานที่เราสามารถใช้แสดงต่ออาจารย์ ว่าตัวเรานั้นอยากที่จะเข้าเรียนต่อในคณะนั้นๆ จริงๆ! เพราะมันคือภาพรวมทั้งหมดของช่วงชีวิตนักเรียน และในการสอบสัมภาษณ์นั้นอาจารย์ที่มหาลัยเองก็ไม่ได้มีเวลามากมายในการไปนั่งถามถึงเรื่องราวทุกอย่างจากตัวน้องๆ การมีพอร์ตโฟลิโอก็จะช่วยประหยัดเวลาในการสอบสัมภาษณ์ลงและช่วยให้อาจารย์ได้เข้าใจในตัวตนของน้องๆ ได้มากยิ่งขึ้น จะทำอย่างไรเมื่อไม่มีผลงานน่าเอามาใส่พอร์ตฯเลย?              ถือเป็นอีกปัญหาที่หลายๆ คนจะต้องพบเจอ เมื่อพอถึงเวลาที่จะต้องทำพอร์ตโฟลิโอ แต่กลับไม่ค่อยมีผลงานที่ใช้ได้ เพราะโดยส่วนตัวแล้วไม่ใช่เด็กกิจกรรม แต่ครั้นจะให้ทำพอร์ตโฟลิโอแบบโหรงเหรงดูไม่มีอะไรไปให้อาจารย์ดูก็ไม่ใช่ ทางที่ดีแนะนำว่าควรพยายามหาสิ่งที่ใส่ได้มาใส่ให้ได้เยอะที่สุด เช่น เกียรติบัตรตั้งแต่สมัยประถม รูปภาพงานกิจกรรมที่เคยทำร่วมกับเพื่อนๆ อย่างกีฬาสี งานบุญของโรงเรียน งานปีใหม่ บำเพ็ญประโยชน์ ฯลฯ ไม่อย่างนั้นก็จำเป็นที่จะต้องใช้วิชาการเขียนบรรยายแล้วบอกเล่าเรื่องราวของเราให้ได้มากที่สุดแทน […]

การศึกษาไทย

การศึกษาของไทยกับปัญหาที่นักเรียนจะต้องพบเจอ

“การศึกษาไทย” คือสิ่งที่ใช้ยกระดับและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในประเทศ เมื่อบุคลากรในประเทศมีความรู้ความสามารถ ก็จะนำมาต่อยอดเพื่อพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้าต่อไปได้ ดังนั้น ทุกประเทศก็ต่างให้ความสำคัญกับเรื่องของการศึกษาในประเทศของตนเป็นอย่างมาก แต่ทำไมประเทศไทยถึงได้มีการศึกษาที่ย่ำแย่ จนเรียกได้ว่าวิกฤต? ทำไมถึงเป็นเช่นนั้นและสาเหตุนั้นมาจากอะไร? เราจะมาไล่เรียงกันดู ผลการทดสอบ PISA (Program for International Student Assessment) ในปี 2015 นั้น ประเทศไทยเราได้อันดับที่ 54 จากทั้งหมดกว่า 70 ประเทศที่ได้เข้าร่วม และอันดับที่ 1 คือประเทศสิงคโปร์ ส่วนหนึ่งของความสำเร็จนี้เป็นผลมาจากการที่สามารถสร้างครูที่มีคุณภาพสูงขึ้นมาได้ ด้วยการเสนอค่าตอบแทนที่สูง จึงเป็นการเชิญชวนให้คนที่มีความสามารถอยากมาทำงานด้านนี้ ในขณะที่ประเทศไทยของเรานั้นครูหลายคนยังมองว่าค่าตอบแทนของอาชีพนี้ในไทยนั้นไม่ได้สูงมากนัก คนที่มีความสามารถจึงไม่ได้สนใจประกอบอาชีพนี้ และยังมีเรื่องของค่านิยม หรือหน้าตาทางสังคมที่ว่าการเรียนหมอเรียนวิศวะแล้วจะได้เชิดหน้าชูตาให้กับที่บ้านได้มากกว่า ทำให้เด็กเก่งๆ ที่มีความสามารถไม่ได้มาเรียนด้านครู แต่ต้องไปเรียนด้านอื่นเพราะความต้องการของที่บ้าน ทั้งที่จริงๆ แล้ว ไม่มีอาชีพไหนดีหรือแย่ที่สุด เพราะแต่ละอาชีพล้วนมีความสำคัญในตนเองและมีหน้าที่ที่แตกต่างกันไปตามแต่ละสาขา นอกจากนี้ปัญหาที่ทำให้เราสู้ต่างชาติไม่ได้ก็คือ “ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา” ที่เป็นผลมาจากความเหลื่อมล้ำของสังคมไทยอีกที ปัญหานี้สืบเนื่องมาจากการที่เด็กบางคนอาจจะต้องช่วยที่บ้านในการทำมาหากิน จึงไม่มีเวลามาเอาใจใส่ด้านการศึกษาได้เต็มที่ หรือต่อให้สนใจแต่ไม่สามารถเข้าถึงอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการเรียนได้ก็มี เช่น การที่เด็กในเมืองนั้นสามารถเข้าถึงอุปกรณ์การศึกษาได้สะดวกกว่าเด็กที่ชนบท ทำให้ขาดโอกาสทางการศึกษา  อีกทั้งการศึกษาไทยขาดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพราะประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลบ่อย รัฐมนตรีก็เปลี่ยนตาม นโยบายก็เลยต่างกันไปเรื่อยๆ  จึงทำให้ความต่อเนื่องของไทยนั้นไม่สามารถไปสู้กับความต่อเนื่องของหลายๆประเทศที่ใช้รัฐบาลเดียวหรือนโยบายเดียวที่มีมีแบบแผนชัดเจนต่อเนื่อง […]